พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งโลก
บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุราชได้แล้ว ได้ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นการเกิด บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีปัญญาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
พระพุทธคุณ ตอน ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้พระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ คือ ทรงเป็นบรมครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะตั้งแต่แรกที่ทรงสร้างบารมี พระองค์ทรงมีมหากรุณาธิคุณ ตั้งความปรารถนาที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปสู่พระนิพพาน
พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง
เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหา และทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้วเพราะ ความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึง อ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเรา ก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับ ทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก
มุทิตาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ภาพประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ตลอดมา ปีนี้เป็นปีที่ 23 มีพระภิกษุสอบได้เปรียญทั้งหมด 43 รูป
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_4
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นผู้มีศีลบารมี หากท่านปรารถนา เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ หางจามรีคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ถ้าปลดขนหางออกไม่ได้ มันก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหางด้วยชีวิต ฉันนั้นเถิด
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_2
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมาก็ เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่สตรี และบุรุษ ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (1)
ดูก่อนเจ้าลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วอันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วอันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
ลักษณะมหาบุรุษ (2)
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
ชัยชนะครั้งที่ 8 (ตอนที่ 2 ชนะพกพรหม)
เพราะว่า สังสารวัฏกำหนดที่สุดของเบื้องต้นท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวที่เธอจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด เพื่อให้พ้นทุกข์
ชัยชนะครั้งที่ 5 (ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา)
พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ ได้ทำไม้สัณฐานกลมผูกติดไว้ ด้วยวิธีที่งดงาม คือความสงบพระทัยในท่ามกลางมหาชน ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน
ศาสดาเอกของโลก (3)
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ บำเพ็ญบารมีทุกประการจนเต็มเปี่ยม บรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยอำนาจแห่งการนอบน้อมนั้น ขอความชนะและความเป็นมงคล จงบังเกิดมีแก่ข้าพระพุทธเจ้า...
ศาสดาเอกของโลก (1)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เลิศเมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย...
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้อยู่จบพรหมจรรย์
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา เมตตคูก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทั้งวิชชา๓ วิชชา๘ อภิญญา๖ วิโมกข์๘ จรณะ๑๕ ท่านได้บรรลุหมด รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในคำสอนของพระบรมศาสดา และได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระพุทธองค์ได้เมตตาประทานการบวชให้
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น
เหมือนดังเรื่องของเมตไตยยะ ซึ่งออกบวชเป็นชฎิล คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่มีในสมัยนั้น ปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ เมื่ออินทรีย์แก่กล้า บุญบันดาลให้มาพบแสงสว่าง ท่านได้พบกับยอดกัลยาณมิตร คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีโอกาสได้ทูลถามปัญหา และตั้งปัญหาถามได้ลึกซึ้ง เป็นปัญหาที่น่ารู้น่าศึกษาทั้งสิ้น
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์
ในขณะนั้นเอง ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นกับท่านอชิตะ และท่านได้ทูลถามถึงข้อควรปฏิบัติ โดยกล่าวถามอย่างชาญฉลาดว่า "ชนผู้ได้เห็นธรรมแล้ว และชนผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก พระองค์มีปัญญาแก่กล้า ขอทรงโปรดตรัสบอกวิธีการปฏิบัติแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๔
พระเถระอธิบายให้ฟังว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ว่า...มาเถิดภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่า ผู้นี้เป็นมารดา ในหญิงผู้ที่พอเป็นมารดาได้ ส่วนหญิงผู้ที่พอเป็นพี่สาว น้องสาวและลูกสาว พวกเธอจงคิดว่าเป็นพี่สาว เป็นน้องสาวและเป็นลูกสาว...ด้วยวิธีการอย่างนี้แหละ จึงเป็นเหตุให้พระภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้จนตลอดชีวิต"
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ถึงเวลาแล้ว
พระราชาทอดพระเนตรผมหงอกของตน ทรงสลดพระทัยในความเสื่อมของสังขารร่างกาย จึงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรงพระราชทานรางวัลให้ช่างกัลบก และประทานโอวาทแก่พระโอรสว่า "ลูกรัก ผมหงอกเส้นนี้ เสมือนเทวทูตมายืนอยู่ตรงหน้าของพ่อ พ่อได้รับความสุข จากสิริราชสมบัติมามากพอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องออกแสวงหาความสุขภายในอันเป็นอมตะ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ไขปริศนาธรรม
พระพุทธองค์ผู้รู้แจ้งโลก ตรัสตอบว่า “บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ทำอะไรเหมาะสม ไม่ทอดธุระ ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม
นางยักษิณีตนหนึ่ง ได้อุ้มอุตราผู้เป็นธิดา และจูงปุนัพพสุผู้เป็นลูกชายแสวงหาอาหารริมกำแพง และริมคูคลองหลังวัดพระเชตวัน เมื่อไปถึงซุ้มประตู นางก็เห็นพุทธบริษัทสงบนิ่งไม่ไหวติง ฟังธรรมด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า เหมือนเปลวประทีปตั้งไว้ในที่ที่ไม่มีลม จึงเกิดความเลื่อมใสแล้วคิดว่า ก็ในที่นี้คงจะมีของแจกให้เรากิน เพื่อประทังชีวิตได้แน่
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมตามกาล
พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ เอกธรรม ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในขณะที่มีอายุเพียง ๗ ขวบเท่านั้น เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ก็ระลึกชาติในอดีตว่า ได้ทำบุญอะไรมา ถึงได้บรรลุธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ประเภทสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา คือ ปฏิบัติได้สะดวก ตรัสรู้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องลำบากทำความเพียร เหมือนกับภิกษุรูปอื่นๆ ท่านได้เล่าให้ฟังว่า